วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๕

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 12 กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

วันนี้เรียนในหัวข้อเรื่อง องค์ประกอบของการศึกษา มีดังนี้

  • องค์ประกอบของการศึกษา

           1. เสียง (Phonology)
               -ระบบเสียงของภาษา
               -เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
               -หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
           2. ความหมายของภาษาและคำศัพท์ (Syntax)
               -คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์
               -คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
               -ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
           3. ไวยากรณ์ (Syntax)
               - คือ ระบบไวยากรณ์
               - การเสียงรูปประโยค
            4. Pragmatic
               - คือระบบการนำไปใช้
              -ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
  • แนวคิดนักการศึกษา

           Skinner
           -สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการภาษา
           -ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
          John B. watson
           -ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
         -การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

  • นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า

          - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
          - การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
          - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
          - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
          - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
  • นักคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

           Piaget
           - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
           - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
          Vygotsky
           - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
           - สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
           - เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
           - ผู้ใหญ่ช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
  • แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

           Arnold Gesell
           - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
           - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
           - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
           - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
  • แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่กำเนิด

           Noam Chomsky
           - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
           - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
      - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา มาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Derice)
  • แนวคิดของ O. Hobart Mowrer

           - คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ

  • แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา

          - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
          - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995 ) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
         1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
             - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
             - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
         2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
             - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
             - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
             - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
         3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
             - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธ์ทางสังคม
             - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
             - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น