วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี 27  กันยายน 2556

ครั้งที่ 16  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น. เวลาเข้าเรียน 13.10น. เวลาเลิกเรียน 16.40น
วันนี้อาจารย์ได้ให้สรุปความรู้และความเข้าใจในการเรียนรายวิชานี้ ว่าที่เรียนมาเราได้รับความรู้อะไรบ้าง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในอนาคตข้างหน้า
 
 
ประโยชน์ที่ไดรับในวันนี้  เราสามารถรุ้ว่าที่เรียนมาเราได้อะไรกลับไปบ้าง และเก็บเกี่ยวความรู้ที่อาจารย์ให้ ได้มากน้อยเพียงใด

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  20  กันยายน 2556

ครั้งที่ 15  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น. เวลาเข้าเรียน 13.10น. เวลาเลิกเรียน 16.40น
 

ในวันนี้อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม เพื่อทำแผนการเรียนตามความสนใจของตนเอง

 

กลุ่มของดิฉันได้จัดทำแผนในหน่วยปลาสอนเรื่องประโยชน์ต่างๆจากปลา

 


หน่วยผลไม้ สอนเกี่ยวกับสีของผลไม้


หน่วยกว่าจะมาเป็นผีเสื้อ สอนวัฏจักรของผีเสื้อ
 

หน่วยกบ สอนเรื่องวัฏจักรของกบ
 

หน่วยกุ๊กไก่ สอนเกี่ยวกับประโยชน์ของไก่

 

เมื่อแต่ละกลุ่มไดนำเสนอเสร็จแล้ว อาจารย์ได้มาสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้เพิ่มเติม
ประโยชน์ที่ไดรับในวันนี้     ได้เรียนรู้การเรียนและการเขียนแผนในอนาคตข้างหน้า ว่ามีวิธิการและลำดับการอย่างไรและควรเน้นประโยชน์สำหรับเด็กด้านใดได้บ้าง


 

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  13  กันยายน 2556

ครั้งที่ 14  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น. เวลาเข้าเรียน 13.10น. เวลาเลิกเรียน 16.40น
 
 
ในวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกแบบมุมต่างๆที่พัฒนาทักษะทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย โดยกลุ่มของดิฉันได้ทำมุมเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมุมนี้จะทำให้เด็กรู้จักการประหยัด อดออม และใช้ของอย่างรู้คุณค่า
 
นี่คือผลงานของแต่ละกลุ่ม
ประโยชน์ที่ได้รับในวันนี้  ดิฉันได้นำความรู้ที่ได้เรียนและได้ทำวันนี้เพื่อใช้ไปสอนในอนาคตข้างหน้าในหน่วยต่างๆได้

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑๓

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  6  กันยายน  2556 
ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

 ในการเรียนครั้งนี้อาจารย์ได้เริ่มเข้าสู่บทเรียนด้วยการให้ตัวแทนนักศึกษาออกไปแสดงตามท่าทางของสัตว์ชนิดต่าง โดยสื่อสารออกมาจากท่าทาง โดยแสดงเป็น งู ชะนี สุนัข ลิง ช้างและควาย

วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา
หลัการ
  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเองเปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระ ได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสองทาง
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ  โดยคำนึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลายๆแบบ
มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษา
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมุติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมดนตรี
  • ฯลฯ
ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะภาษา
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ  สี  กระดาษ  กรรไกร  กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ
มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆที่เหมาะสมกับวัย
  • มีบรรยากาศที่ สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง  และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
มุมบทบาทสมมุติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่น
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย  เช่น สีเมจิก  ดินสอ  ยางลบ  ตรายาง  ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร  กาว  สำหรับงานตัดและปะติด
มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง  เช่น  กลอง  ฉิ่ง  ระนาด  ขลุ่ย  กรับ  เครื่องเคาะจังหวะ
ประโยชน์จากการเรียนครั้งนี้ 
              สามารถเป็แนวทางในการจัดห้องเรียนให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทักษะทางภาษาได้เป็นอย่างดี และเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านภาษาอีกด้วย

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑๒

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  30  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

ในการเรียนในวันนี้ อาจาย์ให้แบ่งกลุ่มเพื่อที่ออกแบบสื่อมากลุ่มล่ะ 1 ชิ้น โดยกลุ่มของดิฉันได้เลือกที่จะออกแบบสื่อคือ บัตรภาพผลไม้ เพื่อที่จะส่งเสริมในด้านพัฒนาการทางภาษาของเด็กให้ดียิ่งขึ้น




และนี่คือผลงานของกลุ่มดิฉัน บัตรภาพผลไม้

ประโยน์ของกิจกรรมในครั้งนี้
                  สามารถนำสื่อชิ้นนี้ไปเป็นแนวทางในการสอนของเราในอนาคตได้และกิจกรรมครั้งนี้ยังช่วยในเรื่องของการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาได้อีกด้วย

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑๑

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  23  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

                    การเรียนของครั้งนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง สื่อการเรียนรู้ทางภาษา  โดยได้บอกถึงความหมายของภาษาและความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา

 สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
ความหมาย  
  •  วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ
  •  เพื่อกระตุ้นความสนใจ ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  •  เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
  •  เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  •  เข้าใจได้ง่าย
  •  เป็นรูปธรรม
  •  จำได้ง่าย เร็ว และนาน   
ประเภทของสื่อการสอน
1. สื่อสิ่งพิมพ์
  •  สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  •  เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยต
  •  หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
2. สื่อวัสดุอุกรณ์
  •  สิ่งของต่างๆ
  •  ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตาราง สถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  • สิ่งที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
  •  คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
4. สื่อกิจกรรม
  • วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติทักษะ
  •  ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  •  เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
5. สื่อบริบท
  •  สือที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  •  สภาพแวดล้อม
  •  ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม
             เมื่อได้เรียนรู้ความหมายและความสำคัญของภาษาแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละคน ประดิษฐ์สื่อคนล่ะ 1 ชิ้นเพื่อที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาให้แก่เด็ก 

ผลงานของดิฉัน ก็คือ เจ้าเป็ดน้อย

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑๐

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 16  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

                    วันนี้ อาจารย์ให้ทำสื่อเกี่ยวกับอาเซียน โดยแบ่งออกเป็นแต่ละกลุ่มและกลุ่มของดิฉันได้ทำเกี่ยวกับธงอาเซียน  และดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำธงของประเทศอินโดนิเซีย ซึ่งผลงานชิ้นนี้สามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้เพื่อสามารถให้เด็กเล่นได้และสื่อทุกคนทำในวันนี้ อาจารย์บอกว่าจะนำไปให้เด็กๆ ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้ทำสื่อชิ้นนี้ด้วยมือของตัวเอง


ประโยชน์ที่ได้จาการเรียนในวันนี้  
                สามารถนำเทคนิคที่เรียนในวันนี้ไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยเพราะสื่อชิ้นนี้เป็นสื่อที่มีความน่าสนใจ  สามารถให้เด็กเกิดความรอบรู้ในเรื่องประเทศอาเซียนได้เป็นอย่างดี

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๙

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  9  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 9  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด




บันทึกอนุทินครั้งที่ ๘

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  2  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 8  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

วันสัปดาห์ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๗


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  26  กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 7  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

                       วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนวาดภาพอะไรก็ได้มาคนละ ๑ อย่างโดยดิฉันได้เลือกวาดภาพน้องหมา เมื่อแต่ล่ะคนวาดภาพของตัวเองเสร็จ อาจารย์ให้นำรูปของตัวเองมาเล่าเป็นนิทาน ให้เป็นเรื่องเดียวกันกับเพื่อน ตั้งแต่ต้นจนจบ


การประเมิน
1.) ใช้เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย
2.) เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
              :บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
              :ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้น
3.) ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.) ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
5.) ครูให้ความทั้งกระบวนการและผลงาน
6.) ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล

สิ่งที่ได้รับจาการเรียนรู้
                       ประโยชน์ที่ได้ในการทำกิจกรรมในนี้ คือ ทำให้เราสามารถมีทักษะทางด้านภาษา ในการแต่งประโยคหรือเนื้อเรื่อง เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้าได้

          

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ ๖

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  19  กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 6  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

   วันนี้อาจารย์เกี่ยวกับเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.) การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch) เช่น
               : ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
               : การประสมคำ
               : ความหมายของคำ
               : นำคำมาประกอบเป็นประโยค
2.) การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) คือ
                : เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ และการลงมือทำ
                : เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ
                :อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ
หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
                 1.) การจัดสภาพแวดล้อม
                  2.) การสื่อสารที่มีความหมาย
                  3.) การเป็นแบบอย่าง
                  4.) การตั้งความหวัง
                  5.) การคาดหวัง
                  6.) การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
                  7.) การยอมรับนับถือ
                  8.) การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
บทบาทครู
                  -ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้
                  -ผู้อำนวยความสะดวก
                  -ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก
  • สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ รู้ว่าหลัการของการสอนเป็นแบบใด และ ได้เรียนเกี่ยวกับทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งนี้ รู้ว่าบทบาทของครูต้องทำอย่างไร และมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาในการเรียนการสอนในอนาคต

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๕

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 12 กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

วันนี้เรียนในหัวข้อเรื่อง องค์ประกอบของการศึกษา มีดังนี้

  • องค์ประกอบของการศึกษา

           1. เสียง (Phonology)
               -ระบบเสียงของภาษา
               -เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
               -หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
           2. ความหมายของภาษาและคำศัพท์ (Syntax)
               -คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์
               -คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
               -ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
           3. ไวยากรณ์ (Syntax)
               - คือ ระบบไวยากรณ์
               - การเสียงรูปประโยค
            4. Pragmatic
               - คือระบบการนำไปใช้
              -ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
  • แนวคิดนักการศึกษา

           Skinner
           -สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการภาษา
           -ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
          John B. watson
           -ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
         -การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

  • นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า

          - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
          - การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
          - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
          - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
          - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
  • นักคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

           Piaget
           - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
           - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
          Vygotsky
           - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
           - สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
           - เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
           - ผู้ใหญ่ช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
  • แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

           Arnold Gesell
           - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
           - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
           - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
           - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
  • แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่กำเนิด

           Noam Chomsky
           - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
           - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
      - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา มาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Derice)
  • แนวคิดของ O. Hobart Mowrer

           - คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ

  • แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา

          - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
          - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995 ) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
         1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
             - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
             - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
         2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
             - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
             - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
             - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
         3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
             - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธ์ทางสังคม
             - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
             - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๔

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  5 กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

การเรียนในวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ power pointตามหัวข้อที่แต่ล่ะกลุ่มได้รับ ดั้งนี้
กลุ่มที่ 1 สังเกตการใช้ภาษาของเด็ก ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  มีการถ่ายวีดีโอ กับ                   เด็ก ว่าเด็กมีพฤติกรรมการใช้ภาษาแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
กลุ่มที่ 2  นำเสนอ power point แนวคิดนักทฤษฎีทางภาษาของเด็กปฐมวัย เช่น เพียเจต์ ให้แนวคิดว่า การเรียน                รู้ของเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนการสอน 
กลุ่มที่ 3 power point พัฒนาการทางสติปัญญา เช่นเด็กอายุ 3 เดือนจะมีเสียงร้อง อ้อแอ้
กลุ่มที่ 4 นำเสนอ วีดีโอ พัฒนาการของเด็กอายุ ๒ - ๔ ปี ณ โรงเรียนอนุบาลคหกรรมฯ มหาวิทยาลัย                                  เกษตรศาสตร์ 
กลุ่มที่ 5 กลุ่มของดิฉัน นำเสนอวีดีโอ มีการถามชื่อน้อง ให้น้องร้องเพลงตาม และถามเรื่องการเรียนของน้อง ว่า                 น้องมีพัฒนาการทางด้านใดบ้าง
กลุ่มที่ 6 นำเสนอ power point น้องชื่อ เจดี เรียนอยู่ชั้น อนุบาล 2 ร้องเพลงได้เก่งมาก และกล้าที่จะพูดกับคนอื่น             ได้ดี
กลุ่มที่ 7 รายงานเรื่องการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย พร้อมกับวีดีโอ ว่าเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและมีการช่วยเหลือตัว                เองได้มากแค่ไหน
กลุ่มที่ 8 นำเสนอ power point องค์ประกอบของภาษา ได้รู้ถึงหลักไวยากรณ์ ความหมายของเสียง เสียงของเด็ก                เช่น เสียงเฮะ
กลุ่มที่ 9 เพื่อนนำเสนอ วีดีโอ โทรทัศครู เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาษาของเด็กปฐมวัย

การเรียนในครั้งนี้ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ต่างกลุ่ม และสามารถนำไปใช้ในการเรียนได้

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๓

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  28  มิถุนายน  2556 
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยราชฏัชจันทรเกษม มีกิจกรรมรับน้องและกิจกรรมรับน้องของเอกการศึกษาปฐมวัย โดยมีภาพกิจกรรมดังนี้

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๒
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  21  มิถุนายน  2556 
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

วันนี้หัวข้อที่เรียน คือ ความสำคัญของภาษา โดยมีเนื้อหาดั้งนี้
  • ความสำคัญของภาษา
           1.ภาษาเป็นเครื่องที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
           2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
           3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
           4.ภาษาเป็นเครื่องมือจรรโลงจิตใจ
  • ทักษะทางภาษา  ประกอบด้วย
           1.การฟัง
           2.การพูด
           3.การอ่าน
           4.การเขียน
  • ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของ Piaget
            การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา  กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการคือ
              1.การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่เด็กรับรู้ และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
              2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่(Accommodation) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
            1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor) อายุ แรกเกิด-2ปี
            2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopera tional Stage) อายุ 2-4ปี
            3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11ปี
            4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15ปี

  •  พัฒนาการภาษาของเด็ก
            เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจ เป็นลำดับขั้นตอน ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็ก ใช้คำศัพท์หรือไวยกรณ์ ไม่ถูกต้อง และควรมองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
  •  จิตวิทยาการเรียนรู้
            1. ความพร้อม       วัย ความสามารถ และประสบการณ์ของเด็ก
            2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล       อิทธิพลทางพันธุกรรม อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
            3. การจำ        การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดเป็นหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส
            4. การให้แรงเสริม      แรงเสริมทางบวก แรงเสริมทางล